SUBJECT: คณิตศาสตร์
GRADE: ป.5
TEACHER: นางสาวจุฑามาศ
รอดทอง
TERM / WK /
HR(S) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สัปดาห์ที่ 7 ระหว่างวันที่ 7 – 10 ก.ค. 57
GENERAL TOPIC (สาระสำคัญ):
-
ชนิดของมุม
- การสร้างมุมโดยใช้โพรแทรกเตอร์
EDUCATIONAL STANDARD (มาตรฐาน):
มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต
(geometric model) ในการแก้ปัญหา
มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล
การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
PERFORMANCE INDICATOR(S) (ตัวชี้วัด):
มฐ. ค
3.2 ป.5/1 สร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์
OBJECTIVES
(จุดประสงค์การเรียนรู้):
1. อธิบายเกี่ยวกับการสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์
2. สร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์
3. มีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน
LESSON
CONTENT (สาระการเรียนรู้):สาระสำคัญ
การสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์ให้มุมที่สร้างมีขนาดตามที่กำหนด
มีวิธีการคือ ลากแขนข้างหนึ่งของมุม กำหนดจุดยอดมุม วางโปรแทรกเตอร์ทาบบนแขนของมุมที่สร้างไว้ให้จุดกึ่งกลางของโปรแทรกเตอร์อยู่ที่จุดยอดมุม
วัดมุมให้มีขนาดตามที่กำหนด ลงจุดไว้ และลากแขนอีกข้างหนึ่งของมุมให้ผ่านจุดที่ลงไว้
เรานำความรู้นี้ไปใช้ในการเรียนเรื่อง มุม และเป็นพื้นฐานในการสร้างรูปเรขาคณิตที่กำหนดขนาดของมุมต่างๆ หรือการออกแบบสิ่งของต่างๆ ต่อไป
สาระการเรียนรู้
1. ความรู้
การสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์
2. ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
การให้เหตุผล การสรุปความรู้ การปฏิบัติ การสังเคราะห์
3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
ACTIVITIES
(กิจกรรม):ขั้นที่ 1 การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ (Active Learning)
1. นักเรียนทบทวนเรื่อง การสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์
โดยครูกำหนด หอก 85 องศาให้ผู้แทนนักเรียน 3 คน
ออกมาแข่งขันกันสร้างมุมให้ถูกต้อง ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบและอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการสร้างมุม
2. นักเรียนฝึกทักษะการสร้างมุม โดยครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม
กลุ่มละ 3-4 คน แต่ละกลุ่มรับกระดาษเปล่าจากครูเพื่อมาช่วยกันสร้างมุมตามที่ครูกำหนดให้
ดังนี้
— ลาก ยาว
5 เซนติเมตร และสร้าง
กขค ที่มีขนาด 65
องศา โดยให้ ยาว
4 เซนติเมตร
สร้างมุม
งจฉ ให้มีขนาด 300
องศา และมีแขนของมุมยาว 6.5
เซนติเมตร และ 8 เซนติเมตร
สร้างมุม
บปพ ให้มีขนาด 125
องศา และมีแขนของมุมยาว 4.5
เซนติเมตร และ 6 เซนติเมตร
จากนั้นแลกเปลี่ยนกับกลุ่มอื่นเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
3.
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ว่ามีสิ่งใดบ้างที่ต้องใช้การสร้างมุม (ตัวอย่างคำตอบ การออกแบบโมเดลต่างๆ การออกแบบสิ่งประดิษฐ์
ที่ต้องวาดมุมเพื่อแสดงส่วนประกอบ)
4. ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้
ดังนี้
—
การสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์ให้มุมที่สร้างมีขนาดตามที่กำหนด
มีวิธีการคือ ลากแขนข้างหนึ่งของมุม กำหนดจุดยอดมุม วางโปรแทรกเตอร์ทาบบนแขนของมุมที่สร้างไว้ ให้จุดกึ่งกลางของโปรแทรกเตอร์อยู่ที่จุดยอดมุม
วัดมุมให้มีขนาดตามที่กำหนด ลงจุดไว้และลากแขน
อีกข้างหนึ่งของมุมให้ผ่านจุดที่ลงไว้
เรานำความรู้นี้ไปใช้ในการเรียนเรื่องมุม
และเป็นพื้นฐานในการสร้างรูปเรขาคณิตที่กำหนดขนาดของมุมต่างๆ ต่อไป
5. ให้นักเรียนทำกิจกรรม สร้างมุมตามสถานการณ์ที่กำหนดให้
จากนั้น ให้นักเรียนที่ทำงานได้ถูกต้อง
ออกมานำเสนอผลงาน 1-2 คน และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง แล้วร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการทำงานให้ถูกต้องรวดเร็ว
ขั้นที่ 2
การมีส่วนร่วม (Cooperative)
- ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูถามคำถามท้าทาย
ดังนี้
—
นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันเรื่องใดมากที่สุด
ขั้นที่ 3
การวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้ (Analysis)
- ห้นักเรียนวิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับการสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์
ขั้นที่ 4
การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)
- ให้นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้ การสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์ให้มุมที่สร้างมีขนาดตามที่กำหนด
มีวิธีการคือ ลากแขนข้างหนึ่งของมุม กำหนดจุดยอดมุม วางโปรแทรกเตอร์ทาบบนแขนของมุมที่สร้างไว้ ให้จุดกึ่งกลางของโปรแทรกเตอร์อยู่ที่จุดยอดมุม
วัดมุมให้มีขนาดตามที่กำหนด ลงจุดไว้และลากแขน
อีกข้างหนึ่งของมุมให้ผ่านจุดที่ลงไว้
เรานำความรู้นี้ไปใช้ในการเรียนเรื่องมุม และเป็นพื้นฐานในการสร้างรูปเรขาคณิต
ที่กำหนดขนาดของมุมต่างๆ หรือการออกแบบสิ่งของต่างๆ ต่อไป
ขั้นที่ 5
การนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้
(Application)
- ครูตั้งคำถามให้นักเรียนตอบว่า
นักเรียนจะนำความรู้เรื่องการสร้างมุมโดยใช้โปรแทรกเตอร์ไป
ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
RESOURCES
& MATERIALS (สื่อและอุปกรณ์):
1. ไม้บรรทัด
2. โปรแทรกเตอร์
3. กระดาษเปล่า
ASSESSMENT
(การวัดและประมินผล):
1. วิธีการวัดและประเมินผล
1.1
สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.2
สังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2. เครื่องมือ
2.1
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
2.2
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
3. เกณฑ์การประเมิน
3.1
การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม
ผ่านตั้งแต่ 2 รายการ ถือว่า ผ่าน
ผ่าน 1 รายการ ถือว่า ไม่ผ่าน
3.2
การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
คะแนน 9-10
ระดับ ดีมาก
คะแนน 7-8
ระดับ ดี
คะแนน 5-6
ระดับ พอใช้
คะแนน 0-4
ระดับ ควรปรับปรุง
NOTES (บันทึกหลังสอน):
________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________
ลงชื่อ ……………………………………………… ครูผู้สอน
(นางสาว จุฑามาศ รอดทอง)
ข้อเสนอแนะของผู้บริหาร
_________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________
ลงชื่อ ………………………………………………
( นางสาว กัญฐณัฏ ฉลอง )
ผู้บริหารโรงเรียนบางพลีพัฒนศึกษาลัย